Powered by Spearhead Software Labs Joomla Facebook Like Button
13838567 10206922420440297 367712712 o

      แต่เดิมนั้น ที่ตั้งเมืองอุบลราชธานี มิได้รับการยกฐานะเป็นสุขาภิบาลมาก่อน ท้องถิ่นจึงเข้าสู่ระบบการปกครองเป็นครั้งแรกโดยได้รับการสถาปนาเป็น เทศบาลเมืองอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2478 โดยผลของพระราชบัญญัติจัดระเบียบเทศบาล พ.ศ.2476 และพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองอุบลราชธานี ในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 52 ตอนที่ 79 พ.ศ.2478 การจัดตั้ง เทศบาลในขั้นต้น มีเนื้อที่ 1.65 ตารางกิโลเมตร
      ต่อมา เมื่อเมืองมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้มีการประกาศขยายเขตเทศบาลอีก 2 ครั้ง คือ ประกาศขยายเขตโดยพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2480 กับพระราชกฤษฎีกาขยายเขต พ.ศ.2499 อันมีเนื้อที่ 5.30 ตารางกิโลเมตร เป็นครั้งแรก โดยประกาศขยายเขต ตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม 2524 เป็นครั้งที่ 2 โดยมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมเนื้อที่ตำบลในเมือง พร้อมทั้งบางส่วนของตำบลแจระแม ตำบลขามใหญ ตำบลปทุม ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลนครอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี พ.ศ. 2542 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 14 ก. วันที่ 8 มีนาคม 2542 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2542 เป็นต้น โดยยังมีเนื้อที่ 29.04 ตารางกิโลเมตร เท่าเดิม
       ปัจจุบัน พื้นที่ของเทศบาลนครอุบลราชธานี ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีแม่น้ำมูลไหลผ่านเมืองทางด้านทิศใต้ บริเวณตอนกลางของเมือง คือทุ่งศรีเมืองและบริเวณรอบ ๆ มีลักษณะเป็นที่ลุ่มคล้ายแอ่งกะทะ ตั้งแต่ถนนอุปราชหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวลงมาถึง ถนนเขื่อนธานีิ พิพิิธภัณฑสถานแห่งชาติสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขต 2 ถึงถนนหลวงบริเวณกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข เลยขึ้นไปวัดทุ่งศรีเมือง และวัดมณีวนาราม

อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ   ติดกับถนนรอบเมือง และบริเวณเขตทหารอากาศ
ทิศใต้   
ติดกับแม่น้ำมูล
ทิศตะวันออก ติดกับห้วยวังนอง และบริเวณเขตทหารอากาศ
ทิศตะวันตก ติดกับถนนรอบเมือง และลำมูลน้อย
ประชากร  
ชาย 35,450 คน
หญิง 40,626 คน
จำนวนบ้าน 32,016 หลังคาเรือน
จำนวนครอบครัว

18,518 ครอบครัว

หมายเหตุ

ประจำเดือน เมษายน 2564

ตราสัญญลักษณ์

         ลักษณะ : ดวงตรา ประจำเทศบาลนครอุบลราชธานีเป็นรูปดอกบัวขนาดใหญ ่เผยอกลีบบานอยู่เหนือน้ำ สองข้างประกอบด้วยดอกบัวตูม ก้านละดอกและใบก้านและสองใบ ครอบคลุมด้วยรัศมีรูปครึ่งวงกลม ด้านล่างมีกรอบรูป รูปครึ่งวงกลม ภายในจารึกอักษรไทยว่า " เทศบาลนครอุบลราชธานี "
ความหมาย :
ดอกบัวบาน : ดอกบัวตูม : ใบบัว : รัศมีครึ่งวงกลม
        อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี
        อุบลราชธานี เป็นชื่อที่มีความหมายถึง เมืองแห่งดอกบัวหนองบัวลุ่มภูสถานที่แรกในการจัดท้องที่แห่งนี้ และโดยความเป็นมาอุบลราชธานี มีบรรพบุรุษผู้นำไพร่พลราษฎรมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่แห่งนี้ 2 ท่าน คือ พระวรราชภักดี และ พระตาท่านทั้งสองเป็นผู้นำที่ก่อร่างสร้างฐาน สืบทอดลูกหลานให้เป็นผู้สร้างความเจริญรุ่งเรือง จนเทียบเทียมนานาอารยะประเทศในปัจจุบัน เปรียบเสมือนดั่งสัตตบุษย์ทั้งสองที่ชูดอกเหนือน้ำ ประคับประคองบัวบาน ให้แผ่กลีบกระจายเกสรขจรไกล ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ส่วนใบทั้งสองคู่เปรียบประดุจความ ดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมรับเอาความเลวชั่วร้ายทั้งปวงไว้ีเป็นเมืองแห่งพุทธศาสนา มีปราชญ์มากมายทั้งบรรพชิต และฑราวาสที่ได้รับการยอมรับจากทุกสารทิศเปรียบเทียบรัศมีที่ปกคลุม อุบลราชธานี
ความหมายย่อ
ดอกบัวบาน : อุบลราชธานีที่มีความเจริญเติบโตที่พร้อมที่จะแผ่กระจายความดีงามไปทั่วปฐพี
ดอกบัวบานตูม : บรรพบุรุษของชาวอุบลราชธานี คือ พระวรราชภักดี และ พระตา ที่ได้นำท้องถิ่นแห่งนี้มาสู่ความเจริญโอบอุ้มชูมาแต่บรรพกาล
ใบบัว : ความดีงามของชาวอุบลราชธานี ที่ไม่ยอมให้สิ่งชั่วร้ายมาแปดเปื้อน
รัศมีครึ่งวงกลม : ความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา และความเป็นปราชญ์อันยิ่งใหญ่ที่อยู่คุ้มครองชาวอุบลราชธานีตลอดกาล


 

สถิติผู้เข้าชมเว็บไซต์

3191514
วันนี้
เมื่อวาน
สัปดาห์นี้
สัปดาห์ที่แล้ว
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทุกวัน
2095
6135
14599
3165665
56201
73274
3191514

Your IP: 18.218.41.144
2025-01-22 11:01