- Details
- Category: ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.
- Hits: 354
10 ม.ค. 61 - แบ่งบันองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดย สสส.ร่วมกับเทศบาลนครอุบลราชธานี
- Details
- Category: ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.
- Hits: 527
10 ม.ค.61 - แบ่งบันองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพดำเนินการตามโครงการขยายฐานผู้รับประโยชน์ในการเข้าถึงองค์ความรู้ด้านสุขภาวะฯ โดย สสส.ร่วมกับเทศบาลนครอุบลราชธานี
- Details
- Category: ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.
- Hits: 321
ค่อยๆ ลด ความหวานลงที่ละน้อยให้รู้สึกว่าไม่ทรมานตัวเองมากเกินไป เช่น การปรุงก๋วยเตี๋ยว จากเดิมที่เคยใส่น้ำตาล ที่ละมากๆ ก็ควรปรับลดลงเรื่อยๆ อย่าหักดิบแบบกะทันหัน เพราะ ร่างกายจะไม่ยอมรับและทำได้เพียงระยะสั้นเท่านั้น โดยมากจะใช้เวลา 1-2 เดือน ร่างกายจะชินกับความหวานน้อยและอร่อยเหมือนเดิม
คาถาลดหวาน หัดพูดให้ติดปากบอกพ่อค้า แม่ค้า ในการประกอบอาหารว่า “ไม่หวาน” ไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่ม หรือ อาหารที่ต้องมีการปรุงรส หรือ เลือกอาหารที่เห็นว่าไม่มันมากจนเกินไปเพราะจะมีรสหวานพ่วงมาด้วย
ดื่มน้ำเปล่าเป็นหลัก พยายามอย่าให้ร่างกายขาดน้ำ เนื่องมาจากหากร่างกายขาดน้ำจะทำให้รู้สึกหิวและเพิ่มความอยากความหวานมากขึ้น การดื่มน้ำเปล่าประมาณ 1 แก้ว เมื่อรู้สึกอยากความหวานจะช่วยลดความอยากลงได้
เลือกรับประทานอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ข้าวกล้อง เลือก ผลไม้รสชาติไม่หวาน เพิ่มเติมอาหารประเภทถั่วฝัก ถั่วเปลือกแข็ง ใยอาหารจะช่วยลดความอยากความหวาน และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดลงได้ด้วย
เช็คสัญญาณ อาการติดหวาน
- รู้สึกอยากขนมหวานที่ตัวเองชอบเรื่อยๆ
- รู้สึกเหนื่อยล้า หงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี เมื่อไม่ได้กินอาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของแป้งหรือน้ำตาล
- รู้สึกหิวบ่อย
- คิดถึงอาหารอยู่เรื่อยๆ แม้ว่าเพิ่งกินอาหารเสร็จ
- มีนิสัยกินอาหารหวานต่อจากอาหารคาวเป็นประจำ
- มีของติดตู้เย็นที่เป็นของหวานอยู่ตลอด
- ชอบผลไม้รสหวาน เช่น มะละกอ ทุเรียน สับปะรด
- ชอบผลไม้แห้ง ผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม
- ชอบอาหารกลุ่มซีเรียลเคลือบนน้ำตาล
- ทำอาหารทุกจานต้องเติมน้ำตาล เช่น ไข่เจียวเติมน้ำตาล ทำพริกน้ำปลาเติมน้ำตาล
- ชอบงานเลี้ยงสังสรรค์ เพราะมีอาหาร เครื่องดื่มและของหวาน
- ในมื้ออาหารมักจะเลือกดื่มเครื่องดื่มที่ไม่ใช่น้ำเปล่า
สาระสุขภาพ - 8 ม.ค.61
- Details
- Category: ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.
- Hits: 662
10 ม.ค.61 - แบ่งบันองค์ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ โดย สสส.ร่วมกับเทศบาลนครอุบลราชธานี
- Details
- Category: ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะ สสส.
- Hits: 455
ความจริงแล้ววิธีการเลิกบุหรี่นั้นไม่มีสูตรตายตัว ขึ้นอยู่กับความตั้งใจของผู้นั้นและสภาพแวดล้อม แต่การช่วยให้ผู้สูบบุหรี่เลิกบุหรี่ได้สำเร็จนั้น การฝึกทักษะการแก้ไขปัญหามีความจำเป็น อาทิเช่น
1.ต้องเลือกกำหนดวันเลิกบุหรี่ให้แน่ชัด โดยให้ผู้สูบตั้งใจกำหนดเองแต่ไม่ควรเกิน 2 สัปดาห์หลังจากได้พูดคุยกันแล้วว่าจะเลิกบุหรี่อีกทั้งการเลิกบุหรี่แบบหักดิบเป็นสิ่งจำเป็น ไม่ควรสูบอีกแม้แต่เพียงนิดเดียวหลังจากถึงกำหนดวันที่ตกลงเลิกบุหรี่แล้ว
2.สำหรับผู้ที่เคยเลิกสูบบุหรี่มาก่อนแต่ไม่สำเร็จ ให้ลองคิดทบทวนถึงประสบการณ์แล้วนำมาใช้ในการเลิกบุหรี่ครั้งนี้เพื่อให้ประสบความสำเร็จ
3.เตรียมพร้อมรับอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างเลิกสูบบุหรี่ครั้งนี้โดยเฉพาะใน 2-3 สัปดาห์แรกๆ เพราะจะเป็นระยะที่มีอาการถอนนิโคตินรุนแรงมากที่สุด ควรพูดคุยเตรียมการหาทางออกเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่
4.หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นให้อยากบุหรี่ เช่น งดหรือจำกัดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพราะจะทำให้มีโอกาสหวนกลับไปสูบบุหรี่สูงขึ้นเป็นต้น
5.จัดการกับสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเลิกบุหรี่ เพราะการเลิกบุหรี่จะมีความยุ่งยากอย่างยิ่งเมื่อต้องอยู่ใกล้กับคนที่สูบบุหรี่อยู่ โดยเฉพาะที่บ้านหรือที่ทำงาน ทางที่ดีควรชักชวนผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันหรือทำงานที่เดียวกันเลิกบุหรี่พร้อมกัน หรืออย่งน้อยก็ไม่สูบบุหรี่ให้ผู้ที่กำลังเลิกบุหรี่เห็นหรือได้กลิ่น รวมถึงควรกำจัดบุหรี่และอุปกรณ์การสูบบุหรี่ออกไปให้พ้นสายตาก่อนการเริ่มต้นเลิกบุหรี่ และหลีกเลี่ยงการเข้าไปอยู่ในสถานทืที่เคยสูบ
6.ให้กำลังใจและสนับสนุนคนรัก ครอบครัว และเพื่อน ควรเป็นกำลังใจและคอยชื่นชมเมื่อคนๆนั้นเลิกบุหรี่ได้ต่อเนื่องหรือปฏิเสธไม่สูบบุหรี่ในแต่ละคราวหรือแต่ละวันได้สำเร็จ
สาระสุขภาพ - 8 ม.ค.61